top of page

ควบคุมความชื้นด้วยเครื่องดูดความชื้น

ผู้ออกแบบระบบปรับอากาศจะกำหนดขนาดเครื่องเป่าลมเย็นมากกว่าค่าภาระความร้อนสูงสุดของห้องที่คำนวณไว้เล็กน้อยสำหรับการเปลี่ยนแปลงการใช้ในอนาคต ลดปัญหาความร้อนที่คาดไม่ถึงและเพื่อลดอุณหภูมิห้องให้เร็วขึ้นเมื่อเริ่มเปิด เครื่องปรับอากาศจึงมีขนาดใหญ่กว่าภาระความร้อนของห้องปกติ ซึ่งในขณะทำงานภาระความร้อนของห้จะลดลงตามกิจกรรมภายในห้อง ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มความสามารถน้อยมาก

ถ้าเป็นเครื่องระบบDXและระบบน้ำเย็นที่ใช้วาวล์แบบปิดเปิดจะเปิด/ปิดถึ่ตามอุณหภูมิ ซึ่งในช่วงที่เครื่องปรับอากาศปิดจะไม่สามารถดึงน้ำจาดอากาศทำให้ห้องมีความชื้นสูงขึ้น เครื่องแบบอินเวอร์เตอร์และระบบน้ำเย็นที่ใช้วาวล์ปรับได้อัตโนมัติสามารถปรับการทำงานเพื่อรักษาอุณหภูมิได้แต่ทำให้การดึงความชื้นของเครื่องปรับอากาศลดลง ความชื้นของห้องปรับอากาศจึงสูงขึ้นและไม่สามารถควบคุมได้

เครื่องดูดความชื้นสามารถดึงความชื้นจากอากาศและให้ความร้อนได้จึงสามารถนำมาควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องปรับอากาศร่วมกับเครื่องปรับอากาศได้ดีกว่า และประหยัดพลังงานมากกว่าเครื่องปรับอากาศที่ใช้ความร้อนจากฮีตเตอร์ไฟฟ้ามาก

การทำงานของเครื่องเป่าลมเย็น

เครื่องเป่าลมเย็นทั่วไปของระบบปรับอากาศตามรูปที่ 1.ซ้าย ประกอบค้วยกล่องผสมอาก่าศภายนอกและลมกลับ ที่กรองอากาศ คอยล์เย็น และพัดลม ซึ่งการทำงานของคอยล์ควบคุมด้วยสัญญาณจากเทอร์โมสตัท การควบคุมอุณหภูมิของห้องปรับอากาศแสดงในไซโครเมตริกตามรูปที่ 1.ขวา อากาศภายนอกจะผสมกับลมกลับก่อนเข้าคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศเพื่อดึงความร้อนแฝงและความร้อนสัมผัสทำให้อุณหภูมิและความชื้นลดลงและส่งกลับเข้าห้องเพื่อรับภาระความร้อนแฝงและความร้อนสัมผัสของห้องกลับเข้าเครื่องปรับอากาศ

รูปที่ 1 อุปกรณ์สำหรับเครื่องเป่าลมเย็นและไซโครเมตริกแสดงการทำงาน

เมื่อเลือกคอยล์เย็นถูกต้องและสภาวะอากาศต่างๆเป็นไปตามการคำนวณก็จะสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องได้ตามต้องการ เมื่ออุณหภูมิและความชื้นอากาศภายนอกเปลี่ยนไป และ/หรือภาระความร้อนภายในห้องเปลี่ยนไปตามการใช้งาน จะทำให้สภาวะอากาศเข้าคอยล์เย็นของเครื่องปรับอากาศเปลี่ยน การทำงานของคอยล์เย็นจะผิดไปจากเดิมทั้งความร้อนแฝงและความร้อนสัมผัสที่คอยล์เย็นสามารถทำได้ กระทบค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้อง ระบบควบคุมอุณหภูมิจะปรับการทำงานของคอยล์เพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงและรักษาอุณหภูมิห้อง

การปรับการทำงานชองคอยล์เย็นได้แก่ การปรับลดอัตราการไหลของสารทำความเย็นตามสัญญาณอุณหภูมิจากเทอร์โมสตัทซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของคอยล์เย็นสูงขึ้น ทั้งความร้อนแฝงและความร้อนสัมผัสของคอยล์เย็นลดลง และเมื่อความร้อนแฝงลดลงความชื้นของห้องจะสูงขึ้น ความชื้นเข้าคอยล์เย็นสูงขึ้นจะทำให้ความร้อนแฝงของคอยล์เย็นสูงขึ้น จะปรับการทำงานโดยอัคโนมัติจนกว่าจะสมดุลกับภาระความร้อนของห้องที่อุณหภูมิที่ตั้งไว้ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ของห้องจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวอย่าง

ความสัมพันธ์พื้นฐานมีดังต่อไปนี้

– ภาระความร้อน TH = ความร้อนสัมผัส SH + ความร้อนแฝง LH

– สัดส่วนความร้อนสัมผัส SHF = SH / TH

– เมื่ออากาศเข้าคอยล์เย็นมีความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น คอยล์เย็นจะรับความร้อนแฝงเป็นสัดส่วนสูงขึ้น

การสมดุลของความร้อนในห้องปรับอากาศมีดังต่อไปนี้

– สมดุลความร้อนสัมผัส; SHc = SHr + SHo

– สมดุลความร้อนแฝง; LHc = LHr +LHo

– เมื่อตัวเล็ก c, r และ o แสดงที่มาของความร้อนจากคอยล์เย็น ห้อง และอากาศภายนอกตามลำดับ

– เมื่อรวมทั้งความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝง = THc = THr + THo

ตัวอย่างการทำงานของคอยล์เย็นที่ภาระความร้อนต่างกันแสดงในรูปที่ 2. โดยที่การทำงานของคอยล์เย็นหนึ่งๆจะมี By-pass Factor คงที่เมื่ออัตราการไหลของอากาศคงที่ไม่ว่าสภาวะอากาศเข้าคอยล์เย็น อัตราการไหลของสารทำความเย็นและอุณหภูมิจะเปลี่ยนไปอย่างไร เส้นสีดำแสดงการทำงานของคอยล์เย็นเมื่อระบบอยู่ในจุดสมดุลที่อุณหภูมิห้อง 24 c 50%rh

– ภาระความร้อนของห้อง SHr 10.595 kW, THr 11,587 kW, SHr 0.914

– คอยล์เย็น SHc 12.205 kW, THc 17.655 kW SHFc 0.75

ถ้าภาระความร้อนของห้องมากกว่าที่คำนวณไว้ 10% แต่เลือกคอยล์เย็นไว้ใหญ่พอ คำนวณจุดทำงานด้วยไซโครเมตริก จะได้ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำลง สรุปการทำงานของคอยล์เย็นตามเส้นสีแดงได้ดังนี้

– ภาระความร้อนของห้อง SHr 11.655 kW, THr 12.746 kW, SHr 0.914

– คอยล์เย็น SHc 12.362 kW, THc 16.278 kW SHFc 0.75

– อุณหภูมิห้อง 24 c ความชื้นสัมพัทธ์ 46.7%

เมิ่อภาระความร้อนของห้องลดลงเนื่องจากการใช้งาน SHr 6.0 kW, THr 7.0 kW คำนวณจุดทำงานด้วยไซโครเมตริก จะเห็นว่าความชื้นสัมพัทธ์ของห้องสูงขึ้นมากตามเส้นสีเขียวสรุปการทำงานดังนี้

– ภาระความร้อนของห้อง SHr 6.0 kW, THr 7.0 kW, SHr 0.856

– คอยล์เย็น SHc 7.674 kW, THc 10.492 kW SHFc 0.731

– อุณหภูมิห้อง 24 c ความชื้นสัมพัทธ์ 67.9%

รูปที่ 2. ตัวอย่างไซโครเมตริกแสดงการทำงานของคอยล์เย็นและภาระความร้อนของห้อง

จากรูปที่ 2. เครื่องปรับอากาศที่ออกแบบให้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้องได้ที่ภาระความร้อนของห้องสูงสุด เมื่อภาระความร้อนลดลงเครื่องปรับอากาศจะลดการทำงาน ลดความร้อนสัมผัสเพื่อควบคุมอุณหภูมิ และความร้อนแฝงจะลดลงด้วยทำให้ระบบต้องห่จุดสมดุลใหม่ทำให้ห้องมีความชื้นสัมพัทธ์สูง

การควบคุมความชื้นด้วยฮีตเตอร์ไฟฟ้า

เครื่องเป่าลมเย็นที่ใช้ควบคุมความชื้นจะติดตั้งฮีตเตอร์ไฟฟ้าเพิ่มตามรูปที่ 3.ซ้าย และมีอุปกรณ์วัดความชื้นเพื่อให้สามารถใช้คอยล์เย็นและฮีตเตอร์ไฟฟ้าควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ได้ อากาศที่ออกจากคอยล์เย็นจะผ่านฮีตเตอร์ไฟฟ้าเพื่อปรับอุณหภูมิก่อนส่งเข้าห้อง เมื่อภาระความร้อนของห้องลดลงจากการใช้งาน ฮีตเตอร์ไฟฟ้าจะให้ความร้อนสัมผัส ช่วยปรับภาระความร้อนภายในห้องเพิ่อให้คอยล์เย็นปรับลดความร้อนสัมผัส และความร้อนแฝงน้อยลง ฮีตเตอร์และคอยล์เย็นทำงานร่วมกันควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ได้ แต่ทำให้เกิดการหักล้างความร้อนสัมผัสเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน

รูปที่ 3 อุปกรณ์สำหรับเครื่องเป่าลมเย็นควบคุมความชื้นที่ใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้า

จุดสมดุลภาระความร้อน คอยล์เย็น และฮีตเตอร์ไฟฟ้าเมื่อสามารถควบคุมอุณพภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ได้

สมดุลความร้อนสัมผัส SHc = SHr + SHo + HTR

สมดุลความร้อนแฝง LHc = LHr + LHo

THc – SHc = THr – SHr + THo – SHo

แทนค่า SHc ข้างต้น THc = THr +THo + HTR…………………………………………………………(1)

เมื่อ HTR คือความร้อนสัมผัสจากฮีตเตอร์ไฟฟ้า

ถ้าภาระความร้อนสัมผัสลดลงโดยความร้อนแฝงไม่เปลี่ยนแปลง ฮีตเตอร์ไฟฟ้าจะชดเชยความร้อนสัมผัสที่ลดลงทำให้คอยล์เย็นทำงานเหมือนเดิม แต่ถ้าตวามร้อนแฝงลดลงด้วย คอยล์เย็นจะลดการทำงานเพื่อให้ความร้อนสัมผัสสมดุลกับภาระความร้อนสัมผัสของห้องและความร้อนจากฮีตเตอร์ไฟฟ้าในขณะที่ความร้อนแฝงของคอยล์เย็นจะถูกปรับให้สมดุลกับภาระความร้อนแฝงของห้องค้วยสัญญานจากอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้อง สมการข้างต้นใช้สำหรับอธิบายหลักการทำงานเท่านั้ยไม่สามารถไช้คำนวณงานได้ จึงต้องใช้ไซโครเมตริกในการคำนวณ

ใช้ตัวอย่างเดียวกับภาระความร้อนที่ลดลงข้างต้นซึ่งทำให้ความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 67.9% คำนวณบนไซโครเมตริกโดยใช้คอยล์เย็นเดิมตามรูปที่ 4.

– ภาระความร้อนของห้อง SHr 6.0 kW, THr 7.0 kW, SHr 0.856

– คอยล์เย็น SHc 12.179 kW, THc 16.274 kW SHFc 0.75

ฮีตเตอร์ไฟฟ้า 4.525 kW

รูปที่ 4.ตัวอย่างไซโครเมตริกแสดงการทำงานของคอยล์เย็นและฮีตเตอร์ไฟฟ้า

การทำงานของเครื่องดูดความชื้น

เครื่องดูดความชื้นมีการทำงานและอุปกรณ์เหมือนเครื่องปรับอากาศระบบ DX ตามรูปที่ 5.ซ้าย เครื่องดูดความชื้นอาจตั้งอยู่ภายในห้องปรับอากาศหรือในห้องเครื่องนอกห้องปรับอากาศ ทำงานโดยดึงอากาศภายในห้องมาดูดความชี้นออกด้วยคอยล์เย็น แล้วจึงใช้อากาศแห้งที่ออกจากคอยล์เย็นระบายความร้อนให้คอยล์ร้อนของเครื่องดูดความชื้น ทำให้อากาศมีอุณหภูมิสุงขึ้นแล้วส่งกลับเข้าห้องปรับอากาศ

ไซโครเมตริกแสดงการทำงานของเครื่องดูดความชื้นตามรูปที่ 5.ขวา อากาศที่ส่งกลับเข้าห้องมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องเนื่องความร้อนที่ระบายจากคอยล์ร้อนมีปริมาณมากกว่าความร้อนที่คอยล์เย็นทำได้ เครื่องดูดความชื้นที่ตั้งในห้องเครื่องปรับอากาศควรผสมอากาศแห้งจากเครื่องดูดความชื้นกับอากาศจากเครื่องปรับอากาศก่อนจ่ายเข้าห้องเพื่อลดอุณหภูมิ และสำหรับเครื่องดูดความชื้นที่ตั้งในห้องปรับอากาศต้องจ่ายลมตรงขึ้นด้านบนเพื่อไม่ให้ความร้อนสัมผัสคนโดยตรง

รูปที่ 5.อุปกรณ์สำหรับเครื่องดูดความชื้นแบบตั้งในห้องปรับอากาศ

เครื่องดูดความชื้นมีการทำงานเหมือนเครื่องปรับอากาศระบบ DX เขียนความสัมพันธ์ของการทำงานโดย ให้ d เป็นตัวห้อยของการทำงานของเครื่องดูดความชื้น

ประสิทธิภาพของเครื่องดูดความชื้น COPd = THd / Power………………………………………………..……………….(2)

ความร้อนที่ระบายจากคอยล์ร้อน HD = THd + Power

ความร้อนสัมผัสสุทธิของเครื่องดูดความชื้น SHda = THd + Power – SHd

LHda = SHd – THd ; THda = THd + Power – SHd + SHd –THd = Power …….…..…...(3)

สัดส่วนความร้อนสัมผัสของเครื่องดูดความชื้น SHFda = - SHda / THda

SHFda = - (THd + Power – SHd) / Power = - COPd ( 1 + 1 / COPd – SHFd )………………….,….…..(4)

เมื่อใช้เครื่องเป่าลมเย็นร่วมกับเครื่องดูดความชื้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้อง

สมดุลความร้อนสัมผัส SHc = SHr + SHo – SHd + HD

สมดุลความร้อนแฝง LHc = LHr – LHd + LHo

THc – SHc = THr – SHr – THd + SHd + THo – SHo

แทนค่า SHc ข้างต้น THc = THr + THo – THd + HD

แทนค่า HD ข้างต้น THc = THr + THo + Power……...………………………………….……….…..(5)

เมื่อภาระความร้อนของห้องลดลง คอยล์เย็นจะลดความร้อนสัมผัสลงโดยมีความร้อนจากเครื่องดูดความชื้นช่วยแต่น้อยกว่าความร้อนจากฮีตเตอร์ไฟฟ้า คอยล์เย็นจึงลดการทำงานตามภาระความร้อนสัมผัสได้มากกว่า ความร้อนแฝงของคอยล์เย็นจึงน้อยลงมากกว่าแต่ความร้อนแฝงจากเครื่องดูดความชื้นจะช่วยเพื่อให้สมดุลกับภาระความร้อนแฝงของห้อง

ใช้ตัวอย่างเดียวกับภาระความร้อนที่ลดลงข้างต้นซึ่งทำให้ความชื้นสัมพัทธ์สูงถึง 67.9% คำนวณบนไซโครเมตริกโดยใช้คอยล์เย็นเดิมตามรูปที่ 4.

– อุณหภูมิอากาศเข้าคอยล์เย็น 24 c อุณหภูมิคอยล์เย็น te 7 c ; SHF = 0.8

– อุณหภูมิอากาศเข้าคอยล์ร้อนเท่ากับอุณหภูมิอากาศออกจากคอยล์เย็นประมาณ 14 c อุณหภูมิคอยล์เย็น tc 33 c

– คอมเพรสเซอร์มีประสิทธิภาพ COP = 7

– ใช้สมการที่ 4. คำนวณ SHFda = - 7 (1 + 1/7 – 0.8 ) = -2.4 เพื่อใช้เขียนเส้นการทำงานของเครื่องดูดความชื้นในไซโครเมตริก

– เมื่อภาระความร้อนของห้องสูงสุดตามคำนวณ คอยล์เย็นสามารถคุมอุณหภูมิและความชื้นของห้องได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องดูดความชื้น

– ที่ภาระความร้อนของห้องต่ำสุดคอยล์เย็นปรับเพื่อคุมอุณหภูมิ การทำงานของคอยล์เย็นน้อยที่สุดที่ยอมรับได้เพื่อไม่ให้เครื่องดูดความชื้นมีขนาดใหญ่คือเมื่อจุดน้ำค้างของอากาศออกจากคอยล์เย็นเท่ากับกับจุดน้ำค้างของห้อง เพื่อหาจุดอากาศออกจากคอยล์เย็นในไซโครเมตริก

– สากเส้นจากจุดอากาศออกจากคอยล์ผ่านจุดที่อากาศเข้าห้องไปตัดเส้น SHFda เสมือนว่าอากาศจากคอยล์เย็นผสมกับอากาศจากเครื่องดูดความชื้นได้อากาศที่จ่ายเข้าห้องเพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของห้อง

– คำนวณอัตราการผสมอากาศ และอัตราการไหลของอากาศผ่านเครื่องดูดความชื้น เพื่อใช้คำนวณขนาดของเครื่องดูดความชื้น

– จากไซโครเมตริก SHda -0.813, THda 0.339

– เครื่องดูดความชื้นมีอัตราการไหลอากาศ 998 cfm

– สมการที่ 2. Power = 0.339 kW ; สมการที่ 1. THd = 0.339 x 7 = 2.373 kW

– คอยล์เย็นทำความเย็น THc 15.284 kW

รูปที่ 6.ตัวอย่างไซโครเมตริกแสดงการทำงานของคอยล์เย็นร่วมกับเครื่องดูดความชื้น

เปรียบเทียบการทำงาน

เมิ่อใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกับคอยล์เย็น ฮีตเตอร์ไฟฟ้าให้ความร้อนสัมผัสเท่านั้นส่วนคอยล๋เย็นดึงทั้งความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงหรือความชื้นของห้อง คอยล์เย็นจึงต้องปรับการทำงานเพื่อให้เกิคสมดุลของความร้อนแฝง ซึ่งที่จุดสมดุลนี้คอยล์เย็นจะรับความร้อนสัมผัสได้เท่าไร ฮีตเตอร์ไฟฟ้าจะให้ความร้อนสัมผัสเสริมกับภาระความร้อนสัมผัสของห้องเพื่อจัดให้เกิดสมดุล คอยลเย็นจึงไม่ได้ลดการทำงานเท่ากับที่ภาระความร้อนของห้องลด

เครื่องดูดความชื้นดึงทั้งความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงเช่นดียวกับการทำงานของคอยล์เย็น การจัดสมดุลของภาระความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงจึงทำงานร่วมกัน ต่างกันที่ขนาดและสัญญาณที่ใช้ในการควบคุม คอยล์เย็นมีขนาดใหญ่จึงใช้ควบคุมภาระความร้อนสัมผัสที่มีขนาดมากกว่า เครื่องดูดความชื้นจึงใช้ควบคุมภาระความร้อนแฝงเป็นหลัก เมื่อภาระความร้อนของห้องลดลงคอยล์เย็นจึงลดการทำงานตามได้เช่นเดียวกับเครื่องดูดความชื้นซี่งสามารถลดการทำงานได้ตามภาระความร้อนแฝงที่ลดลง

เปรียบเทียบการทำงานของการคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ด้วยฮีตเตอร์ไฟฟ้ากับการใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้าที่ภาระความร้อนของห้องและอากาศภายนอกเท่ากัน ตามสมการด้านล่าง ที่ภาระความร้อนของห้องลดลงคอยล์เย็นที่ใช้กับฮีตเตอร์ไฟฟ้าจะทำงานเพื่อดึงความร้อนจากภาระความร้อนของห้องและของฮีตเตอร์ไฟฟ้า ส่วนคอยล์เย็นที่ใช้กับเดรื่องดูดความชื้นจะทำงานเพื่อดึงความร้อนจากภาระความร้อนของห้องและความร้อนจากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับเดรื่องดูดความชื้นซึ่งน้อยกว่าฮีตเตอร์ไฟฟ้ามาก

– เมื่อใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้าใช้สมการที่ 1. ; THc = THr +THo + HTR

– เมื่อใช้เดรื่องดูดความชื้นใช้สมการที่ 5. ; THcd = THr + THo + Power

จากตัวอย่างการคำนวณด้วยไซโครเมตริกสำหรับห้องที่มีภาระความร้อนสูงสุด 11.587 kW ใช้อากาศภายนอก 15%คอยล์เย็นทำงาน 17.655 kW ควบคุมห้องที่ 24 c, 50% RH เมื่อภาระความร้อนสัมผัสลดลงเหลือ 6 kW ภาระความร้อนทั้งหมดเหลือ 7 kW สามารถสรุปผลการคำนวณได้ตามตารางที่ 1. เครื่องดูดความชื้นใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าฮีตเตอร์ไฟฟ้ามาก นอกจากนี้ยังหำให้คอยล์เย็นทำงานน้อยกว่า รวมแล้วเครื่องดูดความชื้นใช้พลังงานเพียง 51.3% ของเครื่องที่ใช้ฮีตเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น

ตารางที่ 1. สรุปผลการคำนวณจากตัวอย่างด้วยไซโครเมตริก

บทส่งท้าย

การเลือกอุปกรณ์ควบคุมความชื้นจะต้องรู้ภาระความร้อนต่ำสุดของห้องเพื่อให้เลือกอุปกรณ์ได้เหมาะสม ฮีตเตอร์ไฟฟ้าสามารถปรับการทำงานได้ตามภาระที่ต้องการควบคุม เครื่องดูดความชื้นในปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน สามารถปรับการทำงานได้ด้วยการปรับรอบการหมุนของคอมเพรสเซอร์ การเลือกขนาดอุปกรณ์ควบคุมที่เหมาะสมทำให้สามารถลดต้นทุนและทำให้ประหยัดพลังงานได้ด้วย

คอมเพรสเซอร์แบบปรับรอบทำงานที่ความเร็ว 15 – 120 รอบ/วินาที โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ 60 รอบ/วินาที เครื่องดูดความชื้นจึงออกแบบให้ทำงานที่ความเร็วรอบ 60 รอบ/วินาที การกำหนดขนาดเครื่องดูดความชื้นควรกำหนดให้ทำงานเครื่องดูดความชื้นสามารถดึงน้ำได้หรือดึงความร้อนแฝงที่ภาระความร้อนของห้องที่มีความถี่มากที่สุดโดยการทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด และต้องสามารถทำงานที่ภาระความร้อนต่ำสุดของห้องได้ ทำให้ประหยัดพลังงานโดยรวมของเตรื่องดูดความชื้นได้มากที่สุด แต่ในทางปฏิบัติในขณะออกแบบ ไม่สามารถทราบการทำงานจริงได้ จึงควรกำหนดให้เคริ่องดูดความชื้นมีประสิทธิภาพ(COPd)ไม่ต่ำกว่า 5.0 เมื่อทำงานที่ภาระความร้อนต่ำสุดของห้อง

สรุปข้อกำหนดสำหรับเครื่องดูดความชื้นได้แก่ อัตราการไหลของอากาศ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเข้าเครื่องดูดความชื้น ใช้คอมเพรสเซอร์แบบเปลี่ยนความเร็วรอบได้ อัตราการดูดความชื้น และประสิทธิภาพการทำงาน(COPd)ขณะทำงานคามที่กำหนดไม่ต่ำกว่า 5.0 ซึ่งได้จากการคำนวณตามที่ได้อธิบายมาในบทความนี้


1 comment
bottom of page