top of page

สรุป ASHRAE 62.1

ASHRAE 62.1-2010 “Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality” เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้อ้างอิงในการออกแบบเพื่อสุขอนามัยของคนในอาคาร ต่อไปเป็นการสรุปข้อมูลโดยย่อเพื่อใช้ทบทวนหรือนำไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อการออกแบบต่อไป

สาระโดยย่อ

ช่องลมที่อากาศภายนอกเข้าอาคารต้องกันฝนได้ตามมาตรฐานทดสอบ UL1995 หรือ AMCA 500L หรือให้มีคลอบกันฝนและลม(Rain hood)หันหน้าลงที่ใหญ่มีความเร็วลมไม่เกิน 500 fpm(2.5m/s) พร้อมมุ้งลวดกันแมลงและตะแกรงกันนกช่องเปิด13 mm และมีการระบายน้ำ

OAU ต้องมีที่กรองอากาศไม่ต่ำกว่า MERV6 สำหรับ PM10 หรือ MERV11 สำหรับ PM2.5 รวมทั้งถ้าพบโอโซน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของ 8 ขม,/วัน จำนวน 4 วันของปี มาเฉลี่ย 3 ปีล่าสุด >0.107 ppm (209 μg/m3).จะต้องมีเครื่องจับโอโซนที่มีประสิทธิภาพขจัดโอโซนได้>40% ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อเซนเซอร์พบว่าค่าโอโซนเกินกำหนด

ตำแหน่งที่นำอากาศภายนอกเข้าจะต้องห่างจากตำแหน่งที่มีความเสียงในการนำสิ่งไม่พึงประสงค์เข้ามาในระบบปรับอากาศตามตารางที่ 5-1

ข้อกำหนดต่างๆ

ท่อลมอากาศภายนอก ถ้าไม่ใช่โลหะจะต้องไม่เกิดเชื้อราและทนทานต่อการสึกกร่อน ส่วนท่อลมระบายอากาศต้องซีลตาม SMACNA Seal Class A เพื่อไม่ให้อากาศรั่วไหลออกมาปะปนภายในห้อง

ถ้ามีอุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีหน่วยงานยอมรับก็สามารถปรับคุณภาพอากาศใหม่ได้ การผ่านอากาศและเกิดการผสมจากบริเวณที่มีคุณภาพต่างกันจะต้องจัดระดับคุณภาพบริเวณที่ต่ำกว่า(class เลขที่สูงกว่า)

อากาศClass1 นำกลับมาใช้ได้ ส่งผ่านบริเวณClassอื่นๆได้

อากาศClass2 นำกลับมาใช้ในบริเวณต้นกำเนิดได้

นำกลับมาใช้ได้ ส่งผ่านบริเวณClass2 หรือ Class3 ได้ถ้ามีการทำงานเกี่ยวข้อง สิ่งแปลกปลอมเหมือนกัน

ส่งผ่านอากาศไปห้องน้ำได้

ส่งผ่านอากาศไปบริเวณClass4 ได้

เมื่อเป็นอุปกรณ์ Energy reclaim เช่น Wheel exchanger ยอมให้อากาศClass2รั่วมาที่Class1อากาศภายนอกได้ไม่เกิน 10% ของอากาศภายนอก

อากาศClass3 นำกลับมาใช้ในบริเวณต้นกำเนิดได้

นำกลับมาใช้/ส่งผ่านบริเวณClassอื่นไม่ได้ยกเว้นเมื่อเป็นอุปกรณ์ Energy reclaim เช่น Wheel exchanger ยอมให้อากาศClass3รั่วมาที่Class1อากาศภายนอกได้ไม่เกิน 5% ของอากาศภายนอก

อากาศClass4 นำกลับมาใช้ได้ ส่งผ่านไม่ได้

อาคารที่มีบริเวณ ETS และ ETS-free บริเวณETS-freeต้องมีความดันเป็น+เมื่อเทียบกับบริเวณETS อาจเป็นพื้นที่เปิดก็ได้แต่ต้องออกแบบให้ลมพัดไปทาง ETS ตลอด

การออกแบบ

มี 5 แบบ แบบที่ 1-3 ใช้เพื่อตรวจสอบอากาศภายนอกให้แต่ละบริเวณและเพื่อสุขภาพของคน(IAQ) และจะต้องไม่น้อยกว่าแบบที่ 5.(ตารางที่ 6-4)

แบบที่1 อัตราการการระบายอากาศต่ำสุด

อัตราอากาศภายนอกที่บริเวณหายใจ Vbz = Rp · Pz + Ra · Az (6-1)

Az = พื้นที่ ตรม.

Pz = จำนวนคน ถ้าสามารถวัดจริงได้ใช้วัดจำนวนคนในเวลา T จากสมการ 6-9 หรือประเมิณจาก default Table 6-1

Rp = อัตราอากาศภายนอก/คน ตามตารางที่ 6-1

Ra = อัตราอากาศภายนอก/พื้นที่ ตามตารางที่ 6-1

อัตราอากาศภายนอกที่นำเข้าบริเวณ Voz = Vbz/Ez (6-2)

Ez = ผลสัมฤทธิ์วิธีการนำอากาศภายนอกเข้า ตามตารางที่ 6-2

เมื่ออากาศภายนอกผสมอากาศกลับของหลายบริเวณ

ให้สัดส่วนอากาศภายนอก Zpz = Voz/Vpz (6-3)

Vpz = อากาศปฐมภูมิที่จ่ายให้บริเวณ(อากาศภายนอกรวมกับลมกลับ)ถ้าเป็น VAV ให้ใช้อัตราจ่ายลมต่ำสุดUncorrected Outdoor Air Intake. Vou = DΣall zones(Rp · Pz) + Σall zones(Ra · Az) (6-6)

The occupant diversity ratio (D) = Ps /Σall zones Pz ,

the system population (Ps) is the total population in the area served by the system.

Outdoor Air Intake Vot = Vou/Ev (6-8)

Ev จากตารางที่ 6-3

แบบที่ 2. IAQ (Indoor Air Quality)

ระบุแหล่งที่เกิดและความเข้มข้นที่เกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ชนิดต่าง หาความเข้มข้นที่ยอมรับได้ คำนวณการนำอากาศภายนอกเข้าเพื่อควบคุมความเข้มข้นให้อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้

แบบที่ 3. รวมแบบที่ 1 และแบบที่ 2

แบบที่ 1. ใช้คำนวณอัตราการนำอากาศภายนอกมาใช้ต่ำสุด โดยแบบที่ 2. ใช้คำนวณอัตรากรนำอากาศภายนอกเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อรักษาความเข้มข้นให้ดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย สามารถใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อสุขภาพร่วมกับแบบที่ 1.ได้

แบบที่ 4. การระบายอากาศโดยธรรมชาติ(สำหรับพื้นที่ที่ไม่ปรับอากาศ)

สามารถใช้การระบาบอากาศโดยธรรมชาตินี้ร่วมกับการระบายอากาศด้วยพัดลมได้

- ถ้าควบคุมเปิดข้างดียวระยะทางไกลสุดจากช่องเปิดจะต้องไม่เกิน 2 H เมื่อ H คือความสูงถึงเพดาน

- ถ้าควบคุมเปิดได้ 2 ด้านตรงข้ามกัน ระยะทางไกลสุดจากช่องเปิดจะต้องไม่เกิน 5 H เมื่อ H คือความสูงถึงเพดาน

- ถ้าควบคุมเปิดได้ 2 ด้านของมุมติดกัน ระยะทางไกลสุดจากช่องเปิดจะต้องไม่เกิน 5 H พื้นที่อื่นๆไม่เกิน H

- ความสูงของเพดานเป็นความสูงต่ำสุด ยกเว้นเพดานเอียงจากช่องเปิดขึ้นไปให้ใช้ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 6mจากช่องเปิด

- ช่องเปิดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 4% ของพื้นที่ระบายอากาศ ถ้าช่องเปิดมีสิ่งกีดขวางให้ใช้พื้นที่อิสระจริงๆ ถ้าห้องไม่ติดผนังภายนอกใช้ช่องระหว่างห้องที่กั้นมีพื้นที่เปิดถาวร 8% ของห้องในแต่ไม่ต่ำกว่า 2.3 ตรม.

แบบที่ 5. การระบายอากาศ (Exhaust Ventilation) ตามตารางที่ 6-4

รูปที่ 1. Ventilation system schematic

คุณภาพอากาศ

คุณภาพของอากาศภายนอกขึ้นกับสิ่งแวดล้อมของที่ตั้งอาคารด้วย ควรมีข้อมูลสภาพอากาศของที่ตั้งอาคาร

แบ่งออกเป็น 4 class อากาศที่ใช้ทดแทนการระบายอากาศเป็น class 1 เท่านั้น ประเภทต่างๆจะกำหนดตามลักษณะของห้องในตารางที่ 5-2, 6-1 และ 6-4

Class 1: มีความเข้มขันของสิ่งแปลกปลอมต่ำ (low contaminant concentration) มีสารระคายเคืองน้อย(low sensory-irritation intensity) และไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์(inoffensive odor).

Class 2: มีความเข้มขันของสิ่งแปลกปลอมปานกลาง (moderate), มีสารระคายเคืองเล็กน้อย(mild) หรือและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์เล็กน้อย อากาศClass 2 ไม่เป็นอันตรายหรืออาจไม่รู้สึกได้แต่ไม่ควรใช้ถ่ายเทไปพื่นที่อื่นหรือนำไปใช้ในลักษณะอื่นใด

Class 3: มีความเข้มขันของสิ่งแปลกปลอม มีสารระคายเคือง และไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างที่รู้สึกได้ชัด

Class 4: มีไอ ควัน ละออง สารระเหย ก๊าซพิษ ที่มีความเข้มข้นเป็นอันตราย

คำศัพท์

NAAQS National Ambient Air Quality Standards: standards for harmful pollutants. โดย the United States Environmental Protection Agency applied for outdoor air throughout the country. US EPA.

DCV demand-controlled ventilation

ETS environmental tobacco smoke

MERV a minimum efficiency reporting value, ANSI/ASHRAE Standard 52.2

มาตรฐานอ้างอิง

– ANSI/ASHRAE Standard 62.1-2010, “Ventilation for Acceptable Indoor Air Quality”, (Supersedes ANSI/ASHRAE Standard 62.1-2007) Includes ANSI/ASHRAE addenda listed in Appendix J, American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers, Inc.




Comments


bottom of page