การระบายอากาศโดยธรรมชาติสำหรับอาคารสูง
ระบบปรับอากาศเป็นระบบที่ใช้พลังงานมากที่สุดในอาคาร เพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพควรใช้การระบายอากาศโดยธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อช่วยลดการสะสมความร้อนในอาคาร ลดขนาดเครื่องปรับอากาศ และลดการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศ ลดการใช้พลังงานของการระบายอากาศเชิงกล การระบายอากาศสามารถใช้เพื่อความสุขสบาย คุณภาพอากาศในอาคารช่วยเสริมสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยเ เพิ่มผลิตภาพของผู้ปฏิบัติงาน ลดการเจ็บป่วย ลดการลงทุนระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ลดการใช้พลังงานต่อพื้นที่อาคาร
เบื้องต้น
ลมทำให้เกิดความดันอากาศ อาคารด้านที่ปะทะลมจะมีความดัน บวกด้านอื่นๆจะมีความดันลบมีขนาดไม่เท่ากันทั้งแนวสูงและแนวราบในรูปที่ 1.ซ้าย อากาศภายในอาคารร้อนเนิ่องจากความร้อนในอาคารจึงลอยขึ้นด้านบน ความดันในอาคารเป็นลบเมื่อเทียบกับอากาศภายนอกตามรูปที่ 1.ขวา อากาศภายนอกรั่วผ่านกรอบอาคารเข้าไปผสมที่ระดับต่างๆทำให้มีอุณหภูมิลดลงและความดันเพื่มชึ้นจนถึงระดับที่เท่ากันเรียกว่าneutral plane เหนือระดับนี้อากาศที่ลอยขึ้นมาจะทำให้ความดันเป็นบวกและจะต้องไหลออกตามรอยรั่วจนถึงระดับสูงสุดของอาคาร การคำนวณสามารถใช้โปรแกรมCONTAM แต่ต้องมีสมมุติฐานและข้อมูลมากมาย
รูปที่ 1. ความดันอากาศที่เกิดจากลมธรรมชาติเมื่อไหลผ่านอาคารและความดันในอาคารที่เกิดจากความแตกต่างของความหนาแน่นอากาศ
อุณหภูมิและความชื้นของอากาศภายนอกเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลและเวลา จึงทำให้เกิดความสุขสบายได้ในบางเวลาเม่านั้น ต้องใช้เครื่องปรับอากาศร่วมด้วย เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องปรับอากาศอาจระบายอากาศมากไปทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน ถ้าน้อนไปจะทำให้มีปัญหาเรื่องคุณภาพอากาศในห้องปรับอากาศ จึงต้องใช้ระบบควบคุมที่มีความซับซ้อนและมีพัดลมระบายอากาศเสริม
แนวทางการระบายอากาศโดยธรรมชาติ
พื้นที่ทางเดิน โถงสูง และอื่นๆที่ไม่มีกิจกรรมสามารถใช้อุณหภูมิ 27c, 65%rh ได้อย่างสุขสบาย (CBE thermal comfort tool แนบท้ายบทความ) ซึ่งมีคำแนะนำจากเอกสารอ้างอิง 2.ให้ใช้อุณหภูมิ 26-31cเมิ่ออุณหภูมิภายนอก 34cขึ้นไป จากอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยของกรุงเทพฯ สามารถใข้อากาศธรรมชาติได้ไม่ต่ำกว่า 4เดือน พื้นที่อื่นๆต้องใช้ระบบปรับอากาศเพียงอย่างเดียวซึ่งการใช้การระบายอากาศโดยธรรมชาติต้องควบคุมอัตราการไหลเพื่อคุณภาพอากาศในอาคารเท่านั้น
สามารถสรุปแนวทางการใช้การระบายอากาศโดยธรรมชาติเพื่อการประหยัดพลังงานได้แก่
1. ใช้ระบายอากาศห้องเครื่องต่างๆ และพื้นที่ที่เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิและความชื้นสามารถทำให้เกิดความสุขสบายได้เช่นทางเดินเชื่อมและอื่นๆ
2. ระบายอากาศในเวลากลางคืนเพื่อลดความร้อนสะสมในโครงสร้างของอาคารในช่วงกลางวัน
3. ลดการใช้พัดลมในพื้นที่ต่างๆ (จากกรณีศึกษา) โดยสามารถรักษาคุณภาพอากาศได้
วิธีการที่ใช้สำหรับการระบายอากาศโดยธรรมชาติประกอบด้วย
1. การระบายอากาศด้านเดียวตามรูปที่ 2.ซ้าย
2. ขับเคลื่อนการระบายอากาศด้วยกระแสลมธรรมชาติตัดผ่านอาคารcross ventilationตามรูปที่ 2.กลาง
3. ความแตกต่างของความหนาแน่นอากาศหรือปรากฎการณ์ปล่องควัน(stack effect)ตามรูปที่ 2.ขวา
รูปที่ 2. การระบายอากาศด้านดียว การระบายอากาศผ่านอาคารcross ventilation และปรากฎการณ์ปล่องควัน(stack effect)
การออกแบบอาคารเพื่อส่งเสริมการใช้การระบายอากาศโดยธรรมชาติจะต้องคำนึงถึง
1. ออกแบบให้อาคารมีลักษณะที่เหมาะสมที่จะรับลมธรรมชาติ และสามารถใช้คงามแตกต่างของความหนาแน่นอากาศมาใช้ได้แก่ ความลึกอาคารน้อย มีพื้นที่สนามโดยรอบ และมีพื้นที่เปิดสูงในอาคาร
2. จัดให้มีช่องเปิดและขนาดที่เหมาะสมสำหรับให้อากาศเข้าและออก ได้แก่มีหน้าต่างเปิดได้หรือมีกรอบที่สามารถให้อากาศเข้าและ/หรือออกได้
3. ทิศทางที่ออกแบบให้เป็นแนวลมผ่านภายในอาคารจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีช่องทางเข้า บันได ช่องเปิดระหว่างชั้นหรือปลาองสูงท่อให้อากาศสามารถผ่านจากด้านล่างสู่ด้านบนได้ มีช่องเปิดเหนือประตูเข้าห้องให้อากาศออกจากห้องไปที่ทางเดินได้
4. กระแสลมธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ มีความเร็วและทิศทางไม่คงที่ การขับเคลื่อนการระบายอากาศโดยธรรมชาติจึงจำเป็นต้องมีพัดลมเป็นหลักและใช้ธรรมชาติช่วยลดการทำงานของพัดลมซึ่งต้องลงทุนอุปกรณ์และระบบควบคุมของทั้งสองแบบไว้
การระบายอากาศด้านเดียว
เมื่อสมปะทะอาคารทำให้เกิดความดันที่ด้านนั้น ข้อสันนิษฐานคือเกิดการหมุนวนของอากาศทำให้เกิดความดันอากาศแตกต่างแต้มีความแตกต่างน้อยมากไม่มีผลต่อการระบายอากาศ ระยะระหว่างระดับช่องลมเข้าและออกของห้องที่ไม่ปรับอากาศถ้าน้อยทำให้เกิดความดันแตกต่างจากความหนาแน่นอากาศในห้องน้อยมากไม่ช่วยการระบายอากาศ แต่ สำหรับห้องที่ปรับอากาศถ้าในห้องที่มีระบบให้ความร้อนอุณหภูมิสูงกว่าอากกาศภายนอกจะมีความแตกต่างต้องมีของความหนาแน่นของอากาศทำให้อากาศในห้องไหลออกทางด้านบนของห้องและอากาศภายนอกจะไหลเข้าห้องแทนที่ ในทางกลับกันถ้าในห้องเย็นกว่าอากาศจะไหลออกจากห้องทางด้านล่างของห้องทำให้อากาศภายนอกไหลเข้าทางด้านบนเพื่อแทนที่ ข้อดีของการระบายอากาศด้านเดียวคือสามารถใช้ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศของแต่ละห้องได้ แต่ต้องมีระบบควบคุมอัตราการไหลและการทำงานของพัดลมเพื่อรักษาคุณภาพอากาศและการประหย้ดพลังงานของระบบปรับอากาศ
รูปที่ 3. อธิบายการทำงานของการระบายอากาศด้านเดียว
การระบายอากาศตัดผ่านอาคาร(cross ventilation)
ข้อมูลความเร็วลมที่ได้เป็นความเร็วลมที่ความสูงของเครื่องมือวัด ตวามเร็วลมที่ระดับอื่นจะมีค่าเปลี่ยนแปลงตามตวามสูงซึ่งจะสร้างความดันบวกที่ด้านปะทะลม(P2=CP1เมื่อ P1คือคงามดันจากการปะทะของลมที่ระดับที่วัดและCคือสัมประสิทธิความเร็วจริง)ความดันตกของอาคารทั้งหมด=P2-P5 จากเอกสารอ้างอิง 2. ถ้าความเร็วลม 4m/s ความดันตกของอาคารเพียง 10Pa ข่วงเวลาที่มีความเร็วลมสูงมีน้อย การระบายอากาศตัดผ่านอาคารจึงทำได้ยาก
รูปที่ 4. อธิบายการทำงานของการระบายอากาศตัดผ่านอาคาร
ความแตกต่างของความหนาแน่นอากาศหรือปรากฎการณ์ปล่องควัน(stack effect)
เมื่อลมสงบการระบายอากาศด้วยความเร็วลมจะทำไม่ได้ จึงต้องใข้ปรากฎการณ์ปล่องควันเนื่องจากความร้อนในอาคารทำอากาศภายในอาคารมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศภายนอก เมื่อในอาคารมีปล่องสูงจะทำให้อากาศภายในปล่องลอยตัวสูงขึ้นตามปล่องและอากาศภายนอกจะไหลผ่านพื้นที่ในอาคารมาที่ปล่องตามรูปที่ 5.
รูปที่ 5. การทำงานของการระบายอากาศจากความแตกต่างของความหนาแน่นอากาศหรือปรากฎการณ์ปล่องควัน(stack effect)
การคำนวณความดันจากปรากฎการณ์ปล่องควันมีวิธีการดังต่อไปนี้
ความดันผลักดัน=ความดันปล่องควัน=(ρo-ρ1)gz = ความดันตกรวมจากทางเข้า ทางเดินและปล่อง และทางออก
ถ้าความสูงZ=10m.อุณหภูมิอากาศภายนอก35c อุณหภูมิในอาคาร40c
ความดันปล่องควัน = (352.6/(35+273.15)- 352.6/(40+273.15))*9.8*10 =1.79Pa
จะเห็นได้ว่ามีความดันผลักดันน้อย ต้องมีปล่องและทางเข้าทางออกใหญ่เพื่อลดความดันตกหรือมีความสูงปล่องและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น หรือใช้ร่วมกับลมธรรมชาติและอื่นๆ ตัวอย่างสำหรับประเทศในภูมิอากาศหนาวและมีลมแรงตามรูปที่ 6.
รูปที่ 6. การระบายอากาศโดยธรรมชาติแบบผสมและแบบเข้าใต้พื้น
ใช้ความร้อนสร้างปรากฎการณ์ปล่องควัน
สามารถใช้ความร้อนเพิ่มความดันผลักดันจากปรากฎการณ์ปล่องควันเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ ความร้อนนี้ได้แก่ความร้อนจากแสงอาทิตย์ การระบายความร้อนจากเครื่องปรับอากาศ และอื่นๆ ความร้อนทำให้อากาศในปล่องมีอุณหภูมิสูงขึ้นและลอยขึ้นไปด้านบน
การใช้ปล่องสมดุล
ใช้ปล่องร้อนและปล่องเย็นตามรูปที่ 7. ลมเข้าอาคารที่ระดับใกล้พื้นจะมีฝุ่นและสิ่งปนเปื้อนมากกว่าลมด้านบน จึงให้อากาศใหลเข้าจากด้านบนของปล่องเย็นแทน ที่ระดับบนของปล่องมีความเร็วลมมากกว่า ทำให้มีความดันผลักดันส่งมากขึ้นแต่ก็มีความดันตกที่ปล่องเย็นมากขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ปล่องเย็นต้องไม่มีความร้อน (อาจต้องหุ้มฉนวนเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนความหนาแน่นอากาศขัดขวางการไหลลง) หน้ากากรับลมต้องปรับด้วยระบบควบคุมเพื่อให้รับลมได้ทุกๆความเร็วลมอย่างมีประสิทธิภาพ
รูปที่ 7.แสดงการทำงานของการระบายอากาศโดยธรรมชาติแบบบนลงล่างหรือปล่องสมดุ
Passive Downdraught Evaporative Cooling (PDEC) Stack Ventilation
ลดอุณหภูมิอากาศในปล่องเย็นให้ใกล้เคียงอุณหภูมิกระเปาะเปียกด้วยการฉีดน้ำ ตำแหน่งที่ฉีดน้ำเป็นจุดเริ่มชองการลดอุณหภูมิ ตามรูปที่ 8. ระยะปล่องตามเส้นประ=dZa+dZb
ความดันที่ปล่อง dPs = (po.dZb+ps.dZa – pi.(dZa+dZb)).g
ความดันจากลม dPw = (Cp-in – Cp-ex).p(Uref^2)/2
ความดันทั้งหมด = dPs+dPw มีค่าเท่ากับผลรวมของความดันปล่องและความดันจากลม
รูปที่ 8.แสดงการทำงานของระบบ PDEC
ตัวอย่างการคำนวณ
ให้อากาศภายนอกอุณหภูมิ 35c, 60%rh (ความหนาแน่น1.123กก./ลบ.ม.)
จากไซโครเมตริกฉีดน้ำทำให้อุณหภูมิเหลือ 30c ความหนาแน่น1.14กก./ลบ.ม.
ให้มีคอนเดนซิ่งทำให้อากาศเข้าปล่องร้อน 45c ความหนาแน่น1.05กก./ลบ.ม.
ถ้า dZa=9, dZb=1 เฉพาะปล่อง dPs = (1.123*1+1.14*9-1.05*(1+9))*9.8 = 8.65 Pa
มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ แต่ปัญหาคือถ้าใช้สำหรับเติมพื้นที่ปรับอากาศจะเพิ่มภาระความชื้นให้พื้นที่ปรับอากาศ
ถ้าไม่ฉีดน้ำ dZa=10, dZb=0 เฉพาะปล่อง dPs = (1.123*10-1.05*(1+9))*9.8 = 7.16 Pa
ที่ปล่องร้อนมีอุณหภูมิสูงจึงทำให้มีความดันมากสามารถใช้เติมพื้นที่ปรับอากาศได้
การเก็บความเย็นตอนกลางคืน
การระบายอากาศโดยธรรมชาติใม่มีค่าใช้จ่าย การเก็บความเย็นในเวลากลางคืนไว้ใช้ในเวลากลางวันแม้จะได้เพียงเล็กน้อยก็คุ้มค่าเพราะมีค่าใช้จ่ายน้อย อุณหภูมิแตกต่างกลางวันกลางคืนของกรุงเทพ 6-8.9c โดยมีค่าน้อยในฤดูฝนและมากในฤดูหนาว ถ้าสามารถลดอุณหภูมิวัสดุก่อสร้างของอาคารในตอนกลางคืนได้ 2c ก็สามารถลดความร้อนในช่วงกลางวันได้ความร้อนเท่ากัน
กล่องลมแบบปรับความดัน(Self-Regulating Inlet Vents)
กล่องลมแบบปรับความดัน(Self-Regulating Inlet Vents) ใช้เพื่อควบตุมอัตราการไหลของอากาศให้คงที่ด้วยการปรับพื้นที่ลมผ่านให้เล็กลงเมื่อตวามดันด้านลมเข้ามากขึ้นเนื่องจากความเร็วลมเพิ่มขึ้น และใช้ควบคุมระดับเสียงที่เกิดจากลม กล่องลมมีผู้ผลิตหลายรูปแบบ ต่อไปนี้เป็นพียงตัวอย่างที่พบในอินเตอร์เนตเท่านั้น รูปที่ 9.แบบสำหรับติดผนัง ลม 22 และ 30ลบ.ม./ชม.ที่ความดันตก 20Pa และรูปที่ 10.แบบสำหรับติดข้างกระจกซึ่งจะต้องสอบถามจากผู้ผลิตว่ามีลักษณะการสร้างอย่างไรเพื่อให้ได้ปริมาณลมตามที่ต้องการ และรูปแบบที่เข้ากับอาคารได้
รูปที่ 9.กล่องลมติดผนังแบบปรับความดัน(Self-Regulating Inlet Vents) w w w . a n j o s - v e n t i l a t i o n . c o m
รูปที่ 10. กล่องลมติดช้างกระจก www.renson.eu
สำหรับอาคารสูงที่ระบายอากาศด้านเดียวอาจประเมินจากช่องขนาด 0,1x0.3ม. จะมีการทำงานตามสมการที่ 1. ในช่วงกลางคืนและฤดูหนาวมีความหนาแน่นอากาศมากกว่าจะทำให้อัตราการไหลลดลง
V = 38.84 dP^0.1.............................................................................................................................................(1.)
เมื่อ V เป็นอัตราการไหลของอากาศ ลบ.ม./ชม. และ dP คือความดันตกของกล่องลม Pa
สภาวะอากาศกรุงเทพฯและความสุขสบาย
จากภูมิอากาศของกรุงเทพตามรูปที่ 11. และแผนภูมิความสุขสบายในรูปที่ 12. อุณหภูมิ 27c, 65-75%rh ทำให้คนที่ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาวมีความสุขสบายได้ และมีแนวโน้มที่จะมีสภาวะอากาศนี้ถึง 4 เดือน
รูปที่ 11.อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ต่ำสุด และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายเดือนของกตุงเทพ
รูปที่ 12. ความสุขสบายของคนจากซอฟท์แวร์ CBE Thermal Comfort Tool (https://comfort.cbe.berkeley.edu)
Wind Rose of Bangkok During Normal Period 1981-2010
จากแผนผังลมของกรุงเทพตามรูปที่ 13. มีลมจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูร้อนและฤดูฝนมากกว่าลมจากทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว
รูปที่ 13. ทิศทาง ความเร็วลมและระยะเวลาที่มีความเร็วสูงสุด
กรณีศึกษาที่ 1. RWE Headquarters Tower Essen, Germany
เป็นอาคารสำนักงานมีห้องทำงานอยู่ขอบอาคาร พื้นที่อาคารวงกลมมีเส้นรอบรูปน้อยกว่าอาคารเหลี่ยมจึงรับความร้อนจากภายนอกน้อยกว่าอาคารที่มีพื้นที่เท่ากัน และทำให้ความดันอากาศภายนอกจากลมธรรมชาติที่ปะทะน้อยกว่าอาคารแบบเหลี่ยมจึงช่วยในการระบายอากาศธรรมชาติชองอาคารดีกว่า
จากทิศทางลมและแปลนของอาคาร อาคารมีกล่องรับลมแบบปรับความดันทำให้การระบายอากาศด้านเดียวไม่มีผลกระทบจากทิศทางลม ระบบให้ความร้อนทำให้ภายในมีอุณหถูมิสูงกว่า อากาศภายนอกจึงเข้าด้านล่างลิกที่ด้านบน
รูปที่ 14.ทิศทางลมและแปลนการระบายอากาศโดยธรรมชาติ
รูปที่ 15.รูปตัดของอาคารแสดงการระบายอากาศโดยธรรมชาติ
ข้อสังเกตุ:
– อุณหภูมิภายนอกต่ำภายในจึงมีระบบให้ความร้อน ต้องจำกัดอากาศภายนอกเพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงาน
– ใช้BMSควบคุมเปิดลมธรรมชาติหรือพัดลมระบายอากาศ ใช้เซนเซอร์วัดอุณหภูมิห้องและในช่องกระจก
– การระบายอากาศด้านเดียว(เฉพาะห้อง)อากาศภายนอกเข้าในระหว่างกระจกและเป่าจากด้านล่างช่วยลดปัญหาหยดน้ำเกาะกระจก
– ลดความร้อนสะสมด้วยการจ่ายลมโดยธรรมชาติในช่วงกลางคืนมาดึงความร้อนสะสมในอาคารออก
รูปที่ 16. การไหลของอากาศจากภายเข้าและออกจากแต่ละห้อง
รูปที่ 17. แผงควบคุมการระบายอากาศข้างประตูห้องและมู่ลี่ภายในช่องกระจก
กรณีศึกษาที่ 2. Commerzbank Frankfurt, Germany
การระบายอากาศโดยธรรมชาติเหมือนกับกรณีศึกษาที่ 1. พื้นที่สวนใช้การระบายแบบตัดผ่านอาคารร่วมกับความแตกต่างชองอุณหภูมิ
รูปที่ 18. ทิศทางลมและแปลนการระบายอากาศโดยธรรมชาติ
รูปที่ 19. รูปตัดอาคารแสดงการระบายอากาศโดยธรรมชาติ
รูปที่ 20. กล่องลมเข้า-ออกสำหรับการระบายอากาศด้านเดียว และมีกระจกเอียงเพื่อให้อากาศเข้าในช่วงล่างของกระจก
กรณีศึกษาที่ 3. Liberty Tower of Meiji University Tokyo, Japan
ข้อสังเกตุ
– อุณหภูมิสูงกว่ากรณีศึกษาที่ 1.ประมาณ 10c สามารถใช้อากาศสำหรับความสุขสบายได้มาก
– ใช้ระบายอากาศผ่านห้องมาที่กล่องบันไดซึ่งทำหน้าที่เป็นปล่องระบาย ไปที่ชั้นระบายอากาศออก 2 ระบบ
รูปที่ 21. ทิศทางลม แปลนและรูปตัดอาคารแสดงการระบายอากาศโดยธรรมชาติ
ตามรูปที่ 22. อากาศเข้าห้องทางใต้หน้าต่าง ใช้ช่องบันไดเป็นปล่องรอบบันไดถ้ามีความเย็นจะทำให้ความแตกต่างของความหนาแน่นอากาศน้อย ระบายอากาศแบบปล่องควันได้น้อยจึงต้องมีห้องบันได และมีชั้นสำหรับระบายลมอยู่เหนือช่องบันได ในรูปจะเปิดหน้าต่างเพื่อให้ลมจากช่องบันไดออกนอกอาคารผ่านชั้นนี้
รูปที่ 22.การไหลลมผ่านกรอบหน้าต่างการระบบายน้ำฝน และหน้าต่างบนชั้นระบายลม
อาคารมีระบบควบคุม(BMS)เปิดช่องลมรอบอาคารในแต่ละชั้นและที่ชั้นระบายลม โดยควบคุมจากอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม และฝนติดตั้งบนหลังคา ทุกช่องจะปิดเมื่ออุณหถูมิภายนอกสูง
กรณีศึกษาที่ 4. Menara UMNO Penang, Malaysia
ลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้นเช่นเดียวกับประเทศไทย พื้นที่เมื่อมีกิจกรรมพิเศษหรือในช่วงอากาศร้อนจะต้องใช้เครื่องปรับอากาศ และในช่วงที่ไม่มีกิจกรรมและอากาศไม่ร้อนจะระบายอากาศตัดข้ามอาคารโดยไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ จากแปลนและรูปที่ 24.ชอบอาคารด้านทิศใต้อละด้านเหบือมีลักษณะสอบเข้าเพื่อรับลมเข้าอาคารให้มากขึ้น
รูปที่ 23.ทิศทางลม แปลนชั้นแสดงการระบายอากาศโดยธรรมชาติ และความดันรอบอาคารจากลม
รูปที่ 24. รูปตัดอาคารแสดงการระบายอากาศโดยธรรมชาติและรูปด้านทิศเหนือของอาคาร
บทส่งท้าย
กรณีศึกษาสำหรับอาคารสูงที่แสดงนี้ยกมาจากเอกสารอ้างอิง 3. ซึ่งมีทั้งหมดถึง 14 กรณีศึกษา สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิงข้างต้น การออกแบบเพื่อความสุขสบายสำหรับประเทศไทยขึ้นกับลักษณะกูมิอากาศของแต่ละสถานที่ สำหรับกรุงเทพตามทฤษฐีทำได้ในบางพื้นที่และบางเวลาซึ่งในทางปฏิบัติควรใช้สำหรับการรักษาคุณภาพอากาศในอาคาร ลดพลังงานสำหรับระบบระบายอากาศ และการเก็บความเย็นในตอนกลางคืน
เอกสารอ้างอิง
1. Steven J. Emmerich, W. Stuart Dols, James W. Axley, “Natural Ventilation Review and Plan for Design and Analysis Tools”, NISTIR 6781, National Institute of Standards and Technology.
2. James W. Axley, “Application of Natural Ventilation forU.S. Commercial Buildings Climate Suitability Design Strategies & Methods Modeling Studies”, GCR-01-820, National Institute of Standards and Technology.
3. Antony Wood & Ruba Salibม, “Natural Ventilation in High-Rise Office Buildings”, CTBUH Technical Guide, Council on Tall Buildings and Urban Habitat, Illinois Institute of Technology
Kommentare