ฮีตปั๊มกับเมล็ดกาแฟ
กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สาคัญชนิดหนึ่งของไทยที่ทำรายได้ให้เกษตรกรอย่างมาก ตลาดกาแฟมีการขยายตัวอย่างมาก ในต่างประเทศก็เช่นกันต่างก็เพิ่มการผลิต เมล็ดกาแฟจึงกลายเป็นสินค้าcommodityซึ่งขายเป็นปริมาณมากๆที่ต้องแข่งขันในด้านราคาจึงต้องควบคุมต้นทุนซึ่งนับวันแต่จะสูงขึ้นถ้าทำงานในลักษณะเดิม จึงต้องมีการควบคุมคุณภาพและพัฒนาการผลิตเพื่อลดต้นทุน และที่สุดคือการทำให้กลายสินค้า premium หรือ specialty
การลงทุนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกิจการ และเพื่อนำเสนอการใช้ฮีตปั๊มให้ใช้ในกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟ จึงต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ทำความเข้าใจกระบวนการผลิตในปัจจุบัน เพื่อหาวิธีการใช้ฮีตปั๊มเพื่อคุณภาพของผลผลิต คุ้มค่าการลงทุน และสรุปข้อดีและข้อเสียสำหรับการตัดสินใจ
ข้อมูลเบื้องต้น
Coffee cherry (เมล็ดกาแฟที่เก็บมาสดๆ) มีความชื้น 60 – 70% wb รูปที่ 1.แสดงส่วนประกอบต่างๆของเมล็ดกาแฟสด ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆกันจึงนำมาแสดงทั้งหมด กาแฟที่สำคัญมีอาราบิก้าและโรบัสต้า การคัดพันธ์ อายุของต้น การตัดแต่ง การเก็บเกี่ยว การฟื้นฟูสภาพต้น ภูมิอากาศและอื่นๆ มีผลต่อปริมาณ ต้นทุนและคุณภาพของเมล็ดกาแฟทั้งสิ้น
รูปที่ 1.ส่วนประกอบต่างๆของเมล็ดกาแฟสด
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่ทำด้วยมือเพื่อไม่ให้ต้นกาแฟเกิดความเสียหายและเพื่อควบคุณภาพ การเก็บด้วยมือได้ เมล็ดกาแฟ 45 - 90 กก./คน/วัน ซึ่งเมื่อนำไปผลิตเมล็ดกาแฟได้ 9 – 18 กก. สามารถสรุปข้อดีข้อเสียของวิธีการเก็บเล็ดกาแฟได้ตามตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1.ข้อดีข้อเสียของวิธีการเก็บเมล็ดกาแฟ
สรุปความสำคัญของการเก็บเมล็ดกาแฟคือเลือกเก็บเมล็ดที่สุกพอดี ถ้าเก็บเมล็ดที่แก่เกินไปจะทำให้มีการเน่าเสียระหว่างกระบวนการผลิต และไม่อ่อนซึ่งจะทำให้รสกาแฟเสีย ถ้าเก็บแล้วต้องแยกทิ้งก็เป็นการสูญเสียวัตถุดิบ การเก็บแบบเลือกเก็บแม้จะเสียค่าแรงมากแต่ก็แลกซึ่งคุณภาพและราคาที่ดีขึ้น
Coffee Bean Process
นอกจากพันธ์ของเมล็ดกาแฟ กระบวนการผลิตมีความสำคัญต่อคุณภาพและรสชาติของเมล็ดกาแฟ ต่อไปนี้เป็นกระบวนการผลิตที่รวบรวมได้จากข้อมูลในปัจจุบันรวมทั้งข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภท เป้าหมายของกระบวนการผลิตคือผลผลิตที่มีคุณภาพผลผลิต ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในแต่ละประเภท จึงสามารถที่จะเลือกใช้และพัฒนาปรับเปลี่ยนได้ถ้าเห็นว่าเหมาะสมกว่า ให้ความสะดวกกว่า คุณภาพดีกว่า และอื่นๆ
1. Natural (Dry Process) หลังจากเก็บเมล็ดกาแฟแบบเลือกเก็บ จะนำผลมาตากแสงอาทิตย์จนแห้ง ระหว่างตากจะต้องกลับให้แห้งสม่ำเสมอ เมื่อแห้งแล้วจึงเอาเปลือกออก(Pulping machine) ขัด(hull)แล้วจึงเก็บเป็นระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ความชื้นสม่ำเสมอ การทำงานในแต่ละขั้นตอนต้องเอาใจใล่มากจึงจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
2. Washed or Wet Process หลังจากเก็บจะคัดแยกผลที่อ่อนและงอมออกค้วยการลอยน้ำแล้ว เอาแปลือกออกด้วยเครื่อง(Pulping machine) จากนั้นจึงแช่น้ำเพื่อให้เกิดการหมักแยกเมือกเหนียว (Mucilage) แล้วจึงนำมาตากแสงอาทิตย์จนแห้ง ระหว่างตากจะต้องกลับให้แห้งสม่ำเสมอ ขัด(hull)แล้วจึงเก็บเป็นระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ความชื้นสม่ำเสมอ
3. Pulped Natural or Semi-wash Process เอาแปลือกออกด้วยเครื่อง (Pulping machine) แล้วจึงอบทั้งที่มี Mucilage ประมาณ 1วัน จากนั้นล้าง Mucilage ออกแล้วจึงอบแห้ง ขัด(hull)แล้วจึงเก็บเป็นระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ความชื้นสม่ำเสมอ
4. Honey process หลังจากเก็บจะคัดแยกผลที่อ่อนและงอมออกค้วยการลอยน้ำ แล้วเอาแปลือกออกด้วยเครื่อง (Pulping machine)
ก่อนการอบแห้ง ถ้ามี mucilage 25% บน wet-parchment bean อบแห้งด้วยอุณหภูมิสูงสุด 70 C รวนทุก 6 ชั่วโมงจนได้ความชื้นที่ต้องการ ใช้เวลาอบแห้งประมาณ 4-7 วันจะได้Yellow-honey
ก่อนการอบแห้ง ถ้ามี mucilage 50% บน wet-parchment bean อุณหภูมิอบแห้งสูงสุด 50 C รวนทุก ๆ ชั่วโมงจนได้ความชื้นที่ต้องการ ใช้เวลาอบแห้งประมาณ 10-15 วันจะได้.Red-honey ใช้
ก่อนการอบแห้ง ถ้ามี mucilage 100% บน wet-parchment bean อุณหภูมิอบแห้งสูงสุด 40 C รวนทุกครึ่งชั่วโมงจนได้ความชื้นที่ต้องการ ใช้การอบแห้งประมาณ 15-21 วันจะได้.Black-honey
มาตรฐาน ICO (International Coffee Organization)ยอมให้มีความชื้นสูงสุด 12% สำหรับ green coffee beans ในทางปฏิบัติความชื้นที่ต้องการจากกระบวนการผลิตประมาณ12% to 14% แล้วจึงเก็บเป็นระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ความชื้นสม่ำเสมอและปรับความชื้นในระหว่างการเก็บให้ลงมาตามมาตรฐาน
กระบวนการผลิตส่วนใหญ่ต้องใช้น้ำล้าง คัดแยก หมัก การใช้น้ำมากทำให้เปียกมาก การอบแห้งใช้เวลานานกว่า และต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย จากรูปที่ 2.กระบวนการผลิตที่แห้งที่สุดไปจนเปียกที่สุดคือแบบที่ 1, 4, 3, และ 2 กระบวนการที่เสียมีสภาพเป็นกรด(เปรี้ยว)น้อยไปมากคือแบบที่ 3, 4, 2, และ 1
รูปที่ 2.สรุปผลที่ได้จากขบวนการผลิตเมล็ดกาแฟ
การอบแห้ง
การอบแห้งมี2แบบคือการอบแห้งโดยธรรมชาติ(ใช้แสงอาทิตย์)และแบบใช้เตาอบ(Dryer) อบจนมีความชื้น 11 - 13% wb การใช้แสงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 10 – 20 วัน (Brazil coffee manual) รูปที่ 2.กระบวนการที่ 1.เมื่อใช้เวลาในการอบแห้งนานจึงมีโอกาสที่จะเสียมากที่สุด กระบวนการที่ 3.เอาเปลือกหุ้มออกแล้ว การอบครั้งแรกจึงใข้เวลาน้อยเมื่อล้าง Mucilageออกและอบแห้งจึงไม่มีอะไรเสีย กระบวนการที่ 4.เนื่องจากอบทั้งMucilageจึงยังมีโอกาศเสียอยู่บ้าง ส่วนกระบวนการที่ 2.ใช้การหมักเพื่อแยกเมล็ดออกแล้วจึงนำเมล็ดมาอบแห้งจึงมีน้ำมากที่สุดอาจมีกรดบางส่วนที่ปนเข้าไปในเมล็ดได้
ตารางที่ 2.เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของการอบแห้งโดยธรรมชาติที่ใช้ลานเปิดและที่ใช้เรือนกระจก(Solar house) :7jสรุปข้อเสียที่เหมือนกันคือใช้พื้นที่มาก ใช้เวลานานเนื่องจากกลางคืนไม่มัแสงอาทิตย์ ไม่สามารถควบคุมสภาวะอากาศได้ และต้องใช้แรงงานเกลี่ยพลิกเมล็ดกาแฟ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ
ตารางที่ 2.ข้อดี ข้อเสียของการอบแห้งโดยธรรมชาติ
เตาอบ(Dryer) ต้องเป็น indirect fire อุณหภูมิที่ใช้อบไม่เกิน 45 C วัดภายในเมล็ดกาแฟ หรืออุณหภูมิอากาศเข้าตู้อบไม่เกิน 80 C (ถ้าอุณหภูมิภายในเมล็ดต่ำกว่า 30 C เม็ดกาแฟอาจเป็นสีเขียวเข้มและเขียวดำ) โดยทั่วไปจะใช้เวลา 24 – 36 ชม.ถ้าเร็วเกินไปจะแห้งไม่สม่ำเสมอ ข้อดีคือใช้พื้นที่น้อย ใช้เวลาน้อย คุณภาพขึ้นกับการควบคุม ข้อเสียคือต้องมีเตาอบและโรงเรือนสำหรับเตาอบ ถ้าเป็นเตาอบที่ใช้เชื้อเพลิงการควบคุมการเผาไหม้และการควบคุมอุณหภูมิทำได้ยาก ถ้าเป็นเตาอบที่ใช้ไอน้ำก็จควบคุมได้ง่ายขึ้นแต่มีการลงทุนสูงขึ้นมาก ต้องมีหม้อไอน้ำ ใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการทำงานมากขึ้นทั้งค่าเชื้อเพลิง ค่าควบคุม ซ่อมแซมบำรุงรักษา และความปลอดภัยในการทำงาน
แต่ถ้าเป็นเตาไฟฟ้ามีการควบคุมง่ายกว่า ความปลอดภัยสูงกว่า แต่ค่าไฟฟ้าสูงกว่า ฮีตปั๊มซึ่งใช้ไฟฟ้าเพียง1/3ของเตาไฟฟ้า อบแห้งได้เร็วกว่า และได้ผลผลิคที่มีคุณภาพ จึงมีโอกาสที่จะนำมาใช้อย่างคุ้มค่า
หลักการอบแห้งด้วยฮีตปั๊ม
สรุปหลักการทำงานของฮีตปั๊มได้ดังนี้
– ฮีตปั๊มมีอุปกรณ์และทำงานเหมื่อนกับเครื่องปรับอากาศแทนที่จะระบายความร้อนทิ้ง จะเอาความร้อนมาใช้อบแห้ง การควบคุมอุณหภูมิ การบำรุงรักษา จึงไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังให้ความร้อนและความเย็นได้พร้อมกัน ได้พลังงานความร้อนที่ผลิตมากกว่าไฟฟ้าที่ใช้ 3 – 4 เท่า ราคาค่าไฟฟ้าจึงน้อยกว่าราคาก๊าซ ค่าเชื้อเพลิง หรือค่าไฟฟ้าของเตาอบแห้งไฟฟ้าที่ให้ความร้อนเท่ากัน อุณหภูมิอากาศร้อนสูงสุดที่ฮีตปั๊มทำได้คือ 75 C และสามารถควบคุมการทำงานได้ง่าย
– เตาอบแห้งทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่าเตาอบลมร้อน ใช้ความร้อนเพิ่มอุณหภูมิให้อากาศนอกตู้แล้วให้อากาศร้อนเข้าไปให้ความร้อนกับวัตถุดิบที่อบในตู้ให้คายน้ำจากนั้นอากาศจะมีอุณหภูมิลดลงและมีความชื้นเพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบที่คายให้ อากาศชื้นนี้จะทิ้งออกนอกตู้เพื่อทิ้งความชื้นแล้วเอาอากาศร้อนใหม่เข้ามาเรื่อยๆจนกว่าจะแห้ง สำหรับการทำงานของเตาอบฮีตปั๊ม อากาศในเตาอบใช้หมุนเวียนรับความร้อนจากฮีตปั๊มทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นป้อนให้เตาอบเพื่อให้ความร้อนแก่วัตถุดิบและรับความชื้นออกมาจากวัจถุดิบ ความเย็นจากฮีตปั๊มจะใช้ดึงน้ำออกจากอากาศ อากาศแห้งจะวนกลับไปรับความร้อนเข้าเตาอบวนเวียนจนวัตถุดิบมีความชื้นลดลงตามต้องการ การควบคุมอุณหภูมิทำได้ง่ายและความชื้นของอากาศในเตาอบสามารถควบคุมได้ต่ำกว่าเตาอบแห้งทั่วไป
– อุณหภูมิที่ใช้อบใช้ตามความต้องการของผลิตภัณฑ์เช่น45 C วัดภายในเมล็ดกาแฟ หรืออุณหภูมิอากาศ 75 C อากาศที่แห้งจะรับน้ำจากวัตถุดิบได้มากกว่าอากาศชื้น เตาอบฮีตปั๊มสามารถควบคุมความชื้นในอากาศได้ต่ำกว่าจึงอบแห้งได้เร็วกว่า
แนวทางการปรับปรุงกระบวนการค้วยฮีตปั๊ม
แนวทางที่1.การอบแห้งเมล็ดกาแฟใน Solar house โดยใช้ฮีตปั๊มทำงานร่วมกับระบบแสงอาทิตย์ แบบ hybrid มีข้อดีดังต่อไปนี้
- ทำให้การอบแห้งใช้เวลาน้อยลง เพราะสามารถใช้ฮีตปั๊มให้ความร้อนในเวลากลางคืน และเมื่อมีเมฆทำให้การอบแห้งต่อเนื่องได้ โดยที่อัตราการอบแห้งยังคงเท่าเดิม ระยะเวลาการอบแห้งเท่าเดิม แต่ลดเวลาโดยรวมที่เดิมไม่สามารถใช้ความร้อนในเวลากลางคืนและเวลาที่ฝนตกได้
- เมื่ออากาศมีความชื้นสูงสามารถใช้ฮีตปั๊มลดความชื้นอากาศที่จะเข้า Solar house
แนวทางที่ 2.การใช้ Silo อบแห้งด้วยฮีตปั๊มเหมาะสมสำหรับการผลิตเป็นปริมาณมาก สามารถสรุปข้อดีได้ดังต่อไปนี้
- ใช้พื้นที่น้อยกว่าการตากทั้งแบบลานตากและ Solar house มาก
- ใช้แรงงานน้อยกว่าไม่ต้องใช้คนงานเกลี่ย พลิก และเก็บเมล็ดกาแฟ การพลิกขณะตากมีผลต่อคุณภาพของเม็ดกาแฟโดยเฉพาะเมื่อแดดแรง
- เมื่อวัตถุดิบส่งมาเป็นจำนวนมากสามารถอบได้ทันที ไม่ต้องรอพื้นที่ลาน หรือ Solar house ทำให้วัตถุดิบสดทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีกว่า
- คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีกว่าเนื่องจากฮีตปั๊มให้อุณหภูมิที่ใช้ในการอบต่ำกว่าและสม่ำเสมอกว่า (ในวันที่ไม่มีเมฆอุณหภูมิของ Cherryจะสูงถึง 80 C เมื่อเกลี่ยพลิกไม่ทัน)
- คุณภาพของผลผลิตสม่ำเสมอโดยไม่ต้องพลิก ด้วยวิธีการออกแบบการกระจายลมใน Silo
- สามารถควบคุมการอบแห้งได้แบบอัตโนมัติ
- การอบด้วยฮีตปั๊มเป็นแบบ direct และใช้พลังงานน้อยกว่า จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าเตาอบแบบอื่นๆ
- ใช้เวลาการอบน้อยกว่าแบบ Solar house และมีค่าใช้จ่ายในการอบต่ำกว่า
ตัวอย่าง เก็บ coffee cherry ได้ 30 ตัน/วัน ส่งเข้าโรงงานด้วยรถกระบะเที่ยวละ 1.5 ตัน/เที่ยว
ลานเปิดและเรือนกระจก
ความชื้น 80% wb ความหนาแน่น 320 กก./ลบม.
ถ้ากองความสูง 4 ซม. ต้องใช้พื้นที่ 2,344 ตรม.
ใช้เวลาการอบ 10 วัน ต้องมีพื้นที่รับวัตถุดิบ 10 วัน(เมล็ดกาแฟเข้า 10วัน ใช้ลาน 10แห้ง) เป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 23,440 ตรม.
ทางเลือกที่ 1.ใช้ฮีตปั๊มให้ความร้อนแก่เรือนกระจกในเวลากลางคืน
ลดเวลาการอบลงเหลือ 5 วันต้องมีพื้นที่รับวัตถุดิบ 5 วัน เป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 11,720 ตรม.
ทางเลือกที่ 2.ใช้ฮีตปั๊มกับ Silo
ใช้ Silo ขนาด 5 ลบม. อบได้ 1,600 กก,ต้องการพื้นที่ 4 ตรม.
สำหรับ 30 ตัน ต้องการพื้นที่ประมาณ 75 ตรม.
การอบใช้เวลา 36 ชม./รอบ ใช้พื้นที่วางตู้เพียง 112.5 ตรม. เผื่อพื้นที่สำหรับการเดินการลำเลียงวัสดุแล้วรวมทั้งสิ้น 400 ตรม.ไม่รวมสำนักงานและโรงเก็บผลผลิต
ใช้ Silo ทั้งสิ้น 30 ชุด ระบบไฟ 3Ph/380 V/50Hz 187.5 kW
แนวทางที่ 3.ใช้ฮีตปั๊มในการเก็บเมล็ดกาแฟ
การเก็บเมล็ดกาแฟมีความสำคัญดังนี้
– การอบแห้งต้องการความชื้น 9 -12% (มาตรฐาน ICO สำหรัย green coffee beans ยอมให้มีความชื้นสูงสุด 12%) แต่ความชื้นหลังการอบแห้งอาจไม่สม่ำเสมอ ผิวแห้งแต่ภายในมีความชื้นมากกว่าเมื่อเก็บมาระยะหนึ่งความชื้นจากภายในเมล็ดกระจายสม่ำเสมอความชื้นเกินอาจมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐาน
– ถ้าความชื้นอยู่ที่ 9% ลงมา การบรรจุเมล็ดกาแฟต้องใช้ปริมาณมากขึ้น เมล็ดกาแฟถุง 100 กก. ถ้าความชื้นน้อยกว่า 1% จะต้องเพิ่มเมล็ดกาแฟ 1 กก. ถ้าความชื้นเกิน 12%จะอบแห้งหรือ?
สภาวะอากาศในโรงเก็บมีผลต่อความชื้นภายในเมล็ดกาแฟ รูปที่ 3.แสดงความชื้นสมดุล(Equilibrium moisture content)ของเมล็ดกาแฟที่ความชื้น 9% และ 12% ในสภาวะอากาศต่างๆ(อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในโรงเก็บ)การเก็บเมล็ดกาแฟเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อปรับความชื้นให้สม่ำเสมอ ขณะเก็บไม่เกิดการFerment ในส่วนที่มีความชื้นสูงและควบคุมให้ปรับความชื้นโดยรวมตามความต้องการ ถ้าอุณหภูมิในโรงเก็บ 30 C(86 F) ความชื้นสัมพัทธ์ 55% จากรูปที่ 3.เมื่อเก็บไว้นานพอความชื้นเมล็ดกาแฟประมาณ 10.5% ซึ่งยอมรับได้ตามมตรฐาน ICO แต่เมื่อขายต้องใช้เมล็ดกาแฟมากขึ้น
การเก็บเมล็ดกาแฟต้องอยู่ในถุงที่ระบายอากาศได้ วางให้อากาศผ่านและสูงจากพื้นให้อากาศผ่านใต้ถุงได้ อุณหภูมิและความชื้นอากาศเปลี่ยนไปตามเวลาและฤดูกาล ควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจเรื่องสภาวะอากาศทั้งปีจะมีผลต่อความชื้นของเมล็ดกาแฟอย่างไร ที่สำคัญคือเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงกว่า 70% นอกจากจะทำให้ความชื้นเมล็ดกาแฟสูงขึ้นแล้วยังมีโอกาสเกิดเชื้อราได้อีกด้วย
รูปที่ 3.ความชื้นสมดุลของเมล็ดกาแฟที่ความชื้น 9% และ 12% ในสภาวะอากาศต่างๆ(ความชื้นสัมพัทธ์ (%) อุณหภูมิ (F))
การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในโรงเก็บ ใช้ฮีตปั๊มควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 30 C และความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 68% จะทำให้เมล็ดกาแฟปรับความชื้นใกล้เคียง 12%ที่สุดและใช้พลังงานน้อยที่สุด ไม่เสียน้ำหนักเมล็ดกาแฟ
ส่งท้าย
การใช้ฮีตปั๊มที่นำเสนอนี้ใช้ทดแทนการใช้แสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนพื้นที่และงานก่อสร้างลานเปิด และเรือนกระจก ทำให้การควบคุมความสะอาด คุณภาพของการอบได้ดี แห้งทั่วถึง อุณหภูมิเมล็ดกาแฟไม่มากเกินข้อกำหนด ลดเวลาที่ใช้ในการอบลงมากทำให้ไม่เกิดการหมักระหว่างการอบ ลดการใช้แรงงาน โดยทั้งหมดนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตแต่อย่างใด จะเลือกกระบวนการผลิตแบบใดตามความเหมาะสมและเป้าหมายของโครงการก็สามารถใช้ฮีตปั๊มได้
การควบคุมสภาวะอากาศของโรงเก็บเป็นการปรับคุณภาพของเมล็ดกาแฟก่อนขาย ซึ่งการใช้ฮีตปั๊มเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานและรักษาน้ำหนักของเมล็ดกาแฟ ควบคุมต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขาย
Reference
1. Measuring Coffee Bean Moisture Content
Loren D. Gautz,1 Virginia Easton Smith,2 and H. C. Bittenbender2 Departments of 1Molecular Biosciences and Bioengineering and 2Tropical Plant and Soil Sciences
2. COFFEE QUALITY AND SAFETY MANUAL
This manual was developed in Brazil for the Brazilian coffee sector, under the National Food Safety Programme (PAS)
3. DRYING KINETICS OF PROCESSED NATURAL COFFEE HIGH MOISTURE CONTENT
Valdiney Cambuy Siqueira1, Flávio Meira Borém2, Guilherme Eurípedes Alves3, Eder Pedroza Isquierdo4, Afonso Celso Ferreira Pinto5, Diego Egídio Ribeiro6,
Fabiana Carmanini Ribeiro7
4. SEATTLE COFFEE WORKS BLOG http://blog.seattlecoffeeworks.com/roastery/earth-honey-process/
Comments